Popular Posts

Friday 15 March 2013

ต้มสมุนไพรจีนอย่างไร

ต้มสมุนไพรจีนอย่างไร

การต้มสมุนไพรจีนนี่ก็ไม่ต่างจากการต้มยาไทยมากนักครับ คือใช้ไฟอ่อนเเละ มีขั้นตอนเเต่ละตัวสมุนไพรเท่านั้นครับ ยาบางตัวต้องผ่านน้ำก่อนซัก 1 ครั้งก็เหมือนกับการกินชาเเหละครับ ไม่ต่างกันมากครับ ลองดูครับ



การต้ม (Decotion) คือ วิธีการทั่วไปในการสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรจีน ในบทความนี้ เราจะแนะนำวิธีการต้มสมุนไพรให้ออกมาได้ประโยชน์สูงสุดกันนะครับ

การต้มสมุนไพร  ควรใช้ภาชนะที่ไม่ทำปฏิกริยากับสมุนไพร  เช่น  กระเบื้องเคลือบ , หม้อเคลือบ  หรือหม้อสแตนเลส ซึ่งในปัจจุบันมีหม้อต้มไฟฟ้าที่ผลิตจากกระเบื้องเคลือบ หรือสแตนเลส หลากหลายรูปแบบเพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้งานตามความสะดวก

มีขั้นตอนหรือหลักเกณฑ์ง่ายในการต้มสมุนไพรจีน ดังนี้:

เติมน้ำสะอาดให้ท่วมยา  สักประมาณ 1 – 2 นิ้ว แช่ยาไว้สัก  20 – 30 นาที ( เพื่อให้สมุนไพรดูดซับน้ำก่อน)
กรณีต้มด้วยเตาแก๊ส  -  ต้มจนเดือดแล้วหรี่ไฟอ่อนๆ  ต้มต่ออีก  20 – 40 นาที  แล้วแต่ชนิดของสมุนไพร
ส่วนหม้อต้มไฟฟ้า   -  ก็กดปุ่มต้มตามวิธีของหม้อต้มชนิดนั้นๆ  พอถึงเวลาไฟก็จะตัดเอง
เมื่อได้น้ำยาสมุนไพรแล้ว  เทใส่ภาชนะพักไว้สักครู่
ยาสมุนไพร 1 ชุด สามารถต้มได้ 2-3 เที่ยว  แล้วเทน้ำยารวมกัน  แบ่งรับประทานได้ 2 เวลา

ข้อแนะนำในการต้มสมุนไพรจีน
สมุนไพรบางอย่างควรต้มก่อน  เช่น  แร่ , เปลือกหอย , กระดองเต่า  เนื่องจากยาเหล่านี้อัดแน่น  และแข็ง  การสกัดยาค่อนข้างยาก  ยาเหล่านี้ควรต้มก่อน  15 นาที  แล้วจึงต้มสมุนไพรที่เหลือต่อไป

สมุนไพรบางอย่างควรต้มภายหลังสมุนไพรอื่นๆ ได้แก่ สมุนไพรกลิ่นหอมระเหย ซึ่งสารสำคัญระเหยง่าย และสูญเสียง่าย ดังนั้นสมุนไพรเหล่านี้ควรใส่หลังจากต้มยาอื่นๆจนเดือดแล้ว 5 – 15 นาที แล้วต้มต่ออีก 5 นาที ตัวอย่างสมุนไพรเหล่านี้ได้แก่ ปอห่อ (Bohe) ซัวยิ้ง (Sharen) และตั่วอึ้ง (Dahuang)

สมุนไพรหลายๆชนิดควรใส่ถุงผ้า โดยเฉพาะยาที่เป็นผง ลักษณะเบา ปกคลุมด้วยขนอ่อนนุ่ม หรือเป็นเมือกเหนียว

สมุนไพรบางอย่างควรต้มแยก โดยเฉพาะสมุนไพรมีราคาสูง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้ปริมาณน้อย เช่น โสม (Renshen) , เขากวางอ่อน (Lurong) , ตังฉั่งแห่เช่า (Dongchong Xiacao) เมื่อได้สารสกัดแล้วสามารถแยกดื่ม หรือรวมกับน้ำยาสมุนไพรที่ต้มแล้วได้

สมุนไพรบางอย่างควรจะบดเป็นผงก่อน แล้วจึงผสมน้ำดื่ม เนื่องจากสมุนไพรเหล่านี้ไม่เหมาะที่จะนำไปต้ม เช่น ซาชิก (Sanqi)

สมุนไพรบางชนิดควรละลายน้ำร้อนหรือละลายยาร้อน แล้วจึงดื่ม เช่น อากา (Ejiao)

แตงกวาอาหารของผิว

แตงกวาอาหารของผิว

          เพราะอุดมไปด้วย วิตามินซี แคลเซียม ซิลิก้า และโปแทสเซียม แตงกวาจึงทำให้ผิวกระจ่างใส เส้นผมเป็นมันเงา เล็บแข็งแรง และช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เพื่อสุขภาพผิวที่ดี มาทำโทนเนอร์แตงกวากระชับรูขุมขนใช้เองดีกว่า นำแตงกวาครึ่งลูก ถั่วเฮเซลนัท 1 ช้อนโต๊ะ น้ำแร่ 1 ช้อนโต๊ะใส่ในเครื่องปั่นอาหาร นำส่วนผสมที่ได้มากรองด้วยผ้าขาวบางคั้นเอาแต่น้ำ ทาให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วล้างออกโทนเนอร์ส่วนที่เหลือให้นำไปแช่ตู้เย็น เก็บได้ประมาณ 3 วัน



 ผิวไหม้เนื่องจากถูกแดดเผา

          บรรเทาอาการแสบผิวด้วยโลชั่นแตงกวาสูตรเย็นต่อไปนี้ดูสิ ผสมน้ำแตงกวาคั้น (เลือกลูกใหญ่ ๆ ) กับกลีเซอรีนครึ่งช้อนชา ทาบริเวณที่ถูกแดดเผา โลชั่นจะช่วยให้ผิวเย็นและเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยง ทั้งนี้เพราะแตงกวามีคุณสมบัติลดการอักเสบและคืนความชุ่มชื่นให้ผิว



 แสบเคืองตาใช่ไหม? 

          ถ้ามีอาการเคืองตา ตาบวมให้ใช้แตงกวาแช่เย็นหั่นเป็นแว่นวางบนตาประมาณ 10 นาที โดยให้นอนพักสายตาในห้องมืด เนื่องจากแตงกวามีวิตามินและเกลือแร่สูง ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูดวงตาให้กลับสดชื่นมีชีวิตชีวา

 ล้างพิษด้วยน้ำแตงกวา

          ถ้าคุณกำลังคิดจะทำดีท็อกซ์ ลองน้ำแตงกวาดูสิ เพราะมีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ และสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกาย มีคุณสมบัติเป็นยาระบาย ด้วยรสชาติที่นุ่มนวลของแตงกวา จึงเหมาะที่จะนำมาผสมกับน้ำผลไม้ชนิดอื่น เริ่มต้นวันใหม่ของคุณด้วยเครื่องดื่มสูตรล้างพิษ และเพิ่มความกระปรี้กระเปร่าต่อไปนี้ : แตงกวา 1 ผล คั้นเอาแต่น้ำ ใส่ขิงหั่นเป็นแว่นขนาดครึ่งนิ้วลงไป ดื่มทันที

รักษาท้องผูกด้วยผลไม้สมุนไพร

รักษาท้องผูกด้วยผลไม้สมุนไพร


ท้องผูกต้องแก้ให้ถูกวิธี (ชีวจิต)

          ผู้ที่มีอาการท้องผูกมักจะรู้สึกไม่สบายท้อง บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้เล็กน้อยร่วมด้วย เวลาเข้าห้องน้ำต้องออกแรงเบ่งมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดปกติของระบบขับถ่าย เป็นริดสีดวงทวาร หรือแม้กระทั่งไส้ติ่งอักเสบ ที่สำคัญ อาการท้องผูกมักเป็นอาการหนึ่งเมื่อระบบลำไส้ใหญ่มีความผิดปกติ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ริดสีดวงลำไส้ เป็นต้น



ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

          อาการท้องผูกส่วนใหญ่มาจากการมีพฤติกรรมการกิน การขับถ่ายและการใช้ชีวิตประจำวันผิด ๆ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามคำแนะนำต่อไปนี้ดูนะคะ

           1.ดื่มน้ำ กินผัก ผลไม้ทั้งสดและแห้ง หรืออาหารที่มีกากใยมาก ๆ รวมทั้งข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ถั่ว ฟักทอง ข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งอาหารเหล่านี้จะช่วยเพิ่มเส้นใยช่วยการขับถ่ายได้
           2.ไม่ควรเร่งรีบในขณะที่กินอาหาร ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด หรือกินมะละกอสุกก่อนอาหาร และดื่มน้ำตามมาก ๆ นักธรรมชาติบำบัดเชื่อว่า การกินอาหารจากธรรมชาติเป็นวิธีที่ดีกว่า ซึ่งอาจทำได้โดยการกินรำข้าวเสริม โดยโรยลงไปบนอาหาร

           3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารและกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งจะช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวดีขึ้น
           4.อย่ากลั้นอุจจาระ ควรเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่รู้สึกปวด หรือหลังจากที่กินอาหารเช้าที่เป็นธัญพืช โดยพยายามนั่งถ่ายอย่างผ่อนคลายประมาณ 10 นาที หรือฝึกนิสัยการขับถ่ายเป็นเวลาให้ตัวเอง
           5.สำหรับทารกหากมีอาการท้องผูก อาจเพิ่มน้ำตาลประมาณ 1 ช้อนชาในนม 1 ขวด จะช่วยให้ถ่ายบ่อยขึ้น แต่ถ้าให้น้ำตาลมากเกินไป อาจทำให้ท้องเสีย ส่วนในผู้สูงอายุควรถ่ายอุจจาระเป็นเวลา ถ้าจำเป็นอาจต้องให้ยาเพิ่มปริมาณอุจจาระ ยาระบาย ใช้ยาเหน็บ หรือสบู่เหน็บ จนกว่าการขับถ่ายเป็นปกติ
           6.ถ้าท้องผูกจนต้องเบ่ง และทำให้รู้สึกไม่สบาย อาจทำให้อุจจาระนุ่มลง โดยใช้ยาเหน็บกลีเซอริน (ขนาดสำหรับเด็ก) หรือสบู่ชิ้นเล็กยาว 13 มิลลิเมตร สอดเข้าทางทวารหนัก แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ทันที

แก้ท้องผูกด้วยสมุนไพร
           มะขาม กินมะขามฝักแก่ หรือมะขามเปียก 10-20 ฝัก จิ้มเกลือ หรือคั้นเป็นน้ำดื่ม
           ขี้เหล็ก นำแก่น 50 กรัม ราก ลำต้น ดอก ใบ และผลของขี้เหล็ก รวมทั้งหมด 20-25 กรัม ไปต้ม เอาแต่น้ำ ดื่มก่อนอาหารหรือก่อนนอน
           มะเฟือง ขณะท้องว่างประมาณ 1 ชั่วโมง กินมะเฟืองที่มีรสเปรี้ยว 2-3 ลูก นอกจากจะเป็นยาระบายได้แล้ว มะเฟืองยังช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
           เมล็ดชุมเห็ดไทย นำเมล็ดชุมเห็ดไทยประมาณ 1 กำมือ มาคั่วให้เหลือง แล้วนำมาต้มในน้ำสะอาดปริมาณ 1-2 แก้วจนเดือด นอกจากจะช่วยระบายท้องแล้ว เมล็ดชุมเห็ดไทยยังมีสรรพคุณช่วยให้นอนหลับสบาย

ดูแลตัวเองด้วยการแพทย์แผนไทย

          ศาสตร์ทางด้านการแพทย์แผนไทย ก็มีสูตรที่น่าสนใจให้ลองปฏิติบัติเช่นกันค่ะ
           1.รำข้าว สามารถดูดซับน้ำไว้ได้ถึงเก้าเท่าของน้ำหนักตัวมันเอง จึงช่วยให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดี การเติมรำข้าวลงไปในอาหารจะช่วยให้ถ่ายสะดวก แต่ต้องดื่มน้ำตามให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดี ควรกินรำข้าววันละ 1-3 ช้อนโต๊ะ และดื่มน้ำตามเสมอ

           2.สำหรับการรักษาในระยะยาว ไม่ควรพึ่งรำข้าวเพียงอย่างเดียว เพราะรำข้าวมีส่วนประกอบบางอย่าง ที่ขัดขวางไม่ให้ร่างกายดูดซึมเกลือแร่บางชนิด และยังทำให้ท้องมีลมมากหรือท้องอืด แต่อาการนี้จะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์

           3.กินอาหารหมักดองต่าง ๆ เช่น ผักเสี้ยนดอง หน่อไม้ดอง หัวหอมดอง หรืออาหารหมักดองโบราณ ที่ใช้น้ำซาวข้าวในการดอง

ท่าแถม...ทำง่ายถ่ายคล่อง
          การรำกระบอง นอกจากจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของต่อมลูกหมากในผู้ชาย รังไข่ และมดลูกในผู้หญิงแล้ว ยังช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายได้อีกด้วย เนื่องจากจุดประสาทบริเวณก้นกบ จะบังคับระบบขับถ่าย การเคลื่อนไหวของกระเพาะปัสสาวะ และลำไส้ใหญ่
           1.ยืนตัวตรง กางขาเล็กน้อย
          
           2.นำกระบองไว้ด้านหลัง ลำตัวบริเวณบั้นเอว โดยใช้วงแขนสองข้างคล้องกระบองเอาไว้ ฝ่ามือประสานกันไว้ด้านหน้า หรือฝ่ามือแนบวางราบกับหน้าท้องก็ได้

           3.เขย่งให้ส้นเท้าขึ้นสูงสุดเท่าที่จะทำได้
           4.ลดตัวลงนั่ง โดยยังคงเขย่งส้นเท้าอยู่ ตามองตรง ไม่ก้มหน้า ไหล่ตรงผึ่งผาย ลำตัวตั้งตรง แล้วขย่มตัวให้ก้นแตะส้นเท้า 3 ครั้ง จากนั้นยืนขึ้น โดยเขย่งส้นเท้าอยู่ตลอดเวลา
           5.เมื่อตัวตั้งตรงแล้ว ลดส้นเท้าลงสู่พื้น นับเป็นหนึ่งครั้ง
           6.ทำซ้ำตั้งแต่ข้อ 3 - 5 ให้ครบ 30-50 ครั้ง

ที่มา kapook

มะพร้าวมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน


มะพร้าวมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน



มะพร้าวมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน


สรรพคุณของมะพร้าว

- ธรรมชาติบำบัดถือว่า น้ำมะพร้าวเป็นน้ำผลไม้ที่ดีที่สุดชนิดหนึ่งมีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการครบถ้วน มีไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้ภายใน 5 นาที และยังเป็นประโยชน์ในการขับสารพิษและชำระล้างร่างกายด้วย



- มะพร้าวมีลำต้นสูง ต้องผ่านการกลั่นกรองตามชั้นต่าง ๆ ของลำต้นมะพร้าวกว่าจะถึงลูกมะพร้าวที่อยู่ข้างบน น้ำมะพร้าวที่ได้มาจึงบริสุทธิ์มาก น้ำมะพร้าวหรือเนื้อมะพร้าวเป็นอาหารที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งเพราะบริสุทธิ์และเต็มไปด้วยกลูโคสที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม ฯลฯ



- มะพร้าวเป็นผลไม้ที่มีด่างสูง น้ำมะพร้าวและกะทิสามารถรักษาโรคที่เกิดจากร่างกายมีความเป็นกรดมากเกินไปได้ คนไทยถือกันว่า มะพร้าวเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูกได้ ส่วนคนจีนเชื่อว่า มะพร้าวมีฤทธิ์เป็นกลางไม่เป็นทั้งหยินและหยางมีสรรพคุณในการขับพยาธิ

- สำหรับคนไข้ที่อาเจียนและท้องร่วงในเวลาเดียวกันให้ดื่มแต่น้ำมะพร้าวอย่าให้ทานอย่างอื่น เพราะร่างกายจะดูดซึมกลูโคสไปใช้ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

- แม่ที่เพิ่งคลอดบุตรไม่มีน้ำนมเพียงพอให้ลูกกินสามารถให้น้ำมะพร้าวเสริมน้ำนมแม่ได้ เพราะมีความบริสุทธ์กว่านมผงหรือนมวัว ไม่มีสารเคมีเจือปนที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของเด็ก ถ้าผู้หญิงคนไหนที่เป็นสิวหรือมีรอบเดือนติดต่อกันไม่หยุดให้กินแต่น้ำมะพร้าวอย่างเดียวครั้งที่ดื่มอาการเหล่านั้นอาจจะเพิ่มขึ้นแต่ก็เป็นสิ่งดีเพราะร่างกายถูกกระตุ้นให้ขับของเสียออกมา

- น้ำมะพร้าวดื่มได้ทุกวัน ทุกเพศทุกวัย เพราะเป็นเครื่องดื่มจากธรรมชาติ นอกจากจะมีประโยชน์แล้วยังทำให้ร่างกายสดชื่นไม่เป็นอันตรายเหมือนน้ำอัดลม อย่างไรก็ตามคนเป็นโรคไตและโรคเบาหวานไม่ควรดื่มน้ำมะพร้าว

- น้ำมะพร้าวเปิดลูกแล้วควรดื่มเลยไม่ควรทิ้งไว้นาน ถ้าเราตัดหรือหั่นผลไม้อย่าทิ้งไว้เกินครึ่งชั่วโมงแม้จะเก็บในตู้เย็นก็ตามควรกินให้หมดทีเดียว ผลไม้แต่ละอย่างมีพลังชีวิตถ้ากินผลไม้สุกจากต้นจะได้รับพลังชีวิตสูง หากเก็บทิ้งค้างไว้พลังชีวิตของผลไม้จะลดต่ำลงเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาที่เก็บ

- ปัจจุบันหากต้องการดื่มน้ำมะพร้าวควรต้องระวังเรื่องสารฟอกขาวหากเป็นไปได้ควรซื้อเป็นทะลายมาจากสวนโดยตรง เมื่อต้องการดื่มค่อยตัดทีละลูกจากทะลาย

ประโยชน์ของมะพร้าว

- ในผลมะพร้าวอ่อนจะมีน้ำอยู่ภายในเรียกว่าน้ำมะพร้าว ใช้เป็นเครื่องดื่มเกลือแร่ได้เนื่องจากอุดมไปด้วยโพแทสเซียม นอกจากนี้น้ำมะพร้าวยังมีคุณสมบัติปลอดเชื้อโรคและเป็นสารละลายไอโซโทนิก (สารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากับภายในเซลล์ ซึ่งไม่ทำให้เซลล์เสียรูปทรง) ซึ่งด้วยเหตุนี้จึงสามารถนำน้ำมะพร้าวไปใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดเวน (หลอดเลือดดำ) ในผู้ป่วยที่มีอาการขาดน้ำหรือปริมาณเลือดลดผิดปกติได้

- น้ำมะพร้าวสามารถนำไปทำวุ้นมะพร้าวได้ โดยการเจือกรดอ่อนเล็กน้อยลงในน้ำมะพร้าว
- เนื้อในของมะพร้าวแก่ นำไปทำกะทิได้ โดยการขูดเนื้อในเป็นเศษเล็ก ๆ แล้วบีบเอาน้ำกะทิออก
- กากที่เหลือจากการคั้นกะทิยังสามารถนำไปทำเป็นอาหารสัตว์ได้

- ยอดอ่อนของมะพร้าว หรือเรียกอีกชื่อว่า หัวใจมะพร้าว (coconut’s heart) สามารถนำไปใช้ทำอาหารได้ ซึ่งยอดอ่อนมีราคาแพงมาก เพราะการเก็บยอดอ่อนทำให้ต้นมะพร้าวตายด้วยเหตุนี้จึงมักเรียก ยำยอดอ่อนมะพร้าวว่า "สลัดเจ้าสัว" (millionaire's salad)

- ใยมะพร้าว นำไปใช้ยัดฟูก ทำเสื่อ หรือนำไปใช้ในการเกษตร
- น้ำมันมะพร้าว ได้จากการบีบหรือต้มกากมะพร้าวบด นำไปใช้ในการปรุงอาหารหรือนำไปทำเครื่องสำอางก็ได้และในปัจจุบันยังมีการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันมะพร้าวอีกด้วย
- กะลามะพร้าว นำไปใช้ทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ กระดุม ซออู้ ฯลฯ
- ก้านใบ หรือทางมะพร้าว ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว
- จั่นมะพร้าว(ช่อดอกมะพร้าว)ให้น้ำตาล

สมุนไพรสรรพคุณรักษาไต

สมุนไพรสรรพคุณรักษาไต

       คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจัยนำเห็ดหลินจือมารักษาไตเรื้อรัง ระบุเห็ดหลินจือ ช่วยฟื้นฟูการทำงานของไต ทางเลือกใหม่แทนกินยากดภูมิคุ้มกัน แพทย์จุฬาฯศึกษากลไกการเกิดภาวะไตวายในร่างกาย พร้อมสร้างทางเลือกใหม่รักษาโรคไตเรื้อรังด้วยสารสกัดเห็ดหลินจือ เผยผลทดสอบเบื้องต้นช่วยผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติ ระบุสรรพคุณสร้างสมดุลให้ระบบภูมิคุ้มกัน ลดอาการไตอักเสบ ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ แถมยังเพิ่มประสิทธิภาพระบบไหลเวียนโลหิตและเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของไต



       รศ.พญ.ดร. นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ทีมวิจัยค้นพบวิธีรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ โดยเปลี่ยนให้รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือวันละ 750 - 1,000 มิลลิกรัม ควบคู่กับการให้ยาขยายหลอดเลือด พบว่า ช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของไตให้ดีขึ้น อีกทั้งภาวะเนื้อไตตายลดลงอย่างชัดเจน

       หลังจากทำวิจัยแล้วพบว่า สาเหตุมาจากสารพิษในเลือด สารอนุมูลอิสระ และการเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำให้สารซัยโตคายน์เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเซลล์บุผิวหลอดเลือด ทำให้เกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น จนเกิดความดันภายในไตเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ไตเกิดภาวะขาดเลือด เกิดเนื้อไตตายได้



        นัก วิจัย กล่าว ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis จะมีอาการเนื้อตัวบวมอย่างเห็นได้ชัด และหากตรวจเลือดและปัสสาวะจะพบภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะมากกว่า 3.5 กรัมต่อวัน ส่งผลให้โปรตีนในเลือดต่ำ ปริมาณการหมุนเวียนในเลือดไม่เพียงพอ เลือดในร่างกายพร่อง ข้นหนืด ก่อให้เกิดการอุดตัน และยังมีภาวะเผาผลาญไขมันผิดปกติ ไขมันในเลือดสูง ภาวะต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ไตมีการอักเสบ เสื่อม และถูกทำลายจนเข้าสู่ภาวะไตวายในท้ายที่สุด

       หลัง จากเข้าใจถึงกลไกของสาเหตุโรคไตแล้ว รศ.พญ.ดร.นริสาจึงได้นำเอาสารสกัดจากเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum) มาทดลองกับผู้ป่วย เนื่องจากมีสรรพคุณในการช่วยฟื้นฟูระบบสมดุลของภูมิคุ้มกัน พร้อมทั้งยังได้รักษาร่วมกับการใช้ยาขยายหลอดเลือดด้วย

       รศ.พญ.ดร. นริสา ฟูตระกูล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ทีมวิจัยค้นพบวิธีรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเนฟโฟรสิส ชนิด focal segmental sclerosis ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ โดยเปลี่ยนให้รับประทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือวันละ 750 - 1,000 มิลลิกรัม ควบคู่กับการให้ยาขยายหลอดเลือด พบว่า ช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของไตให้ดีขึ้น อีกทั้งภาวะเนื้อไตตายลดลงอย่างชัดเจน

       หลังจากทำวิจัยแล้วพบว่า สาเหตุมาจากสารพิษในเลือด สารอนุมูลอิสระ และการเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำให้สารซัยโตคายน์เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเซลล์บุผิวหลอดเลือด ทำให้เกิดการหดรัดตัวของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น จนเกิดความดันภายในไตเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ไตเกิดภาวะขาดเลือด เกิดเนื้อไตตายได้

        สำหรับ อาสาสมัครที่เข้ารับการรักษา เป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการไข่ขาวรั่วในปัสสาวะต่อเนื่อง 5 - 10 ปี กำลังอยู่ในภาวะไตเสื่อมถอยลงอย่างช้าๆ และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน หลังจากรักษาได้ราว 1 ปี พบว่าภาวะเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันเข้าสู่ระดับปกติ ผู้ป่วยมีการทำงานของไตดีขึ้น ภาวะไข่ขาวรั่วในปัสสาวะลดลง และสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพของไตให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้

        "ปริมาณ ของสารสกัดจากเห็ดหลินจือที่มีคุณสมบัติในการรักษาได้นั้น จะอยู่ประมาณ 750 - 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยต้องใช้ร่วมกับยาขยายหลอดเลือด ซึ่งจะเข้าไปช่วยฟื้นฟูกลศาสตร์ไหลเวียนของไตให้ดีขึ้น เพราะเลือดจะไหลเข้าสู่ไตได้มากขึ้น ทำให้ความดันภายในไตลดลง"

        นอก จากนี้การบริโภคสารสกัดเห็ดหลินจือในปริมาณดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือผลข้างเคียงใดๆ ด้วย เนื่องจากเห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่มีเพดานการบริโภคที่สูงมาก

        รศ.พญ.ดร. นริสา ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตว่าผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ บริโภคและการดำเนินชีวิตโดยให้ความสำคัญในเรื่องอาหาร น้ำ อากาศ การออกกำลังกาย การกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณที่จำกัด ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ดื่มน้ำให้มากเพียงพอเพื่อไม่ให้ไตขาดเลือด ที่สำคัญคือควรงดสูบบุหรี่

  ทำไมเห็ดหลินจือถึงรักษาโรคไตอักเสบ ไตวายได้

       นพ. บรรเจิด ตันติวิท ได้เขียนหนังสือ "หลิงจือ กับ ข้าพเจ้า" ซึ่งอธิบายหลักการทำงานของเห็ดหลินจือ และประสบการณ์ในการรักษาเห็ดหลินจือให้แก่ผู้ป่วย ได้อธิบายถึงการทำงานของเห็ดหลินจือว่าทำไมถึงรักษาโรคไตอักเสบ ไตวายได้

ไต ที่อักเสบจะมีใยแผลเป็นที่ไต นานเข้าจะหดรัดไต ทำให้ไตเล็กลง รวมทั้งยังรัดเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงไต ทำให้ไตทำงานไม่ได้ ไตเกิดภาวะขาดเลือด

  เห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคไตอักเสบ ไตวายได้ เพราะ

       เห็ด หลินจือจะช่วยละลายใยแผลเป็นให้ อ่อนตัว ไม่ให้ไปรัดเส้นเลือดที่เลี้ยงไต เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงไตได้ จึงทำให้ไตทำงานได้ดีขึ้น

       เห็ด หลินจือมีสารนิวคลีโอไชด์ มีคุณสมบัติละลายลิ่มเลือด ไม่ให้ลิ่มเลือดเกาะตัวง่ายจนทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น

       เห็ดหลินจือเป็นแอนติออกซิแดนต์สามารถขจัดอนุมูลอิสระได้

       เห็ด หลินจือมีโปรตีน Lz-8 ที่ปรับระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานเป็นปกติ รวมทั้งมีสารเยอรมาเนียมและสารโพลีแซคคาไรด์ที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ให้แข็งแรงอีกด้วย

ที่มา http://www.thaiherbweb.com ภาพคลิปจากอินเตอร์เน็ต

ผลไม้ที่มีประโยชน์รักษาโรคได้เหมือนสมุนไพร

ผลไม้ที่มีประโยชน์รักษาโรคได้เหมือนสมุนไพร


 พูดถึง "ส้ม" หลายคนบอกว่า...ฉันรู้จักดี เพราะส้มเป็นผลไม้แสนฮิต มีให้เลือกหลายชนิด ที่สำคัญส้มไม่ได้มีเพียงแค่ความอร่อย ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายด้วย




          ส้มเป็นผลไม้ตระกูล Citrus ที่ให้ทั้งรสเปรี้ยวและหวาน จึงอุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ มากมาย ที่เด่นที่สุดคือ ให้วิตามินซีสูง นอกจากนี้ ยังมีแคลเซียม วิตามินเอ บี โปแตสเซียม แคลเซียม ใยอาหาร ฟอสฟอรัส เหล็ก ซึ่งส้มแต่ละชนิดจะให้คุณค่าทางสารอาหารไม่ต่างกันมากนัก ส่วนคุณประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่น

           ดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ลดความเครียด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

           เลือดออกตามไรฟัน และมีคุณสมบัติช่วยล้างพิษในร่างกาย

           ในส้มมีสารฟลาโวนอยด์ ช่วยป้องกันการอักเสบ และเลือดจับตัวเป็นก้อน

           มีคอลลาเจน ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ให้ผิวมีความยืดหยุ่น ไม่แห้งแตก และยังช่วยสมานแผลหลังผ่าตัด แผลไฟไหม้ ให้หายเร็วและแผลเรียบเนียนขึ้น


ส้ม...ลักษณะเด่นที่แตกต่าง

          ส้มในบ้านเรามีหลายชนิด ทั้งส้มให้ความเปรี้ยวและส้มให้ความหวาน แต่ละชนิดก็มีลักษณะเด่นและการนำไปใช้แตกต่างกันไป อาทิเช่น

           ส้มซันคิสต์ มีรสชาติอร่อยเข้มข้น เปลือกมีกลิ่นหอม จึงนิยมนำทั้งน้ำและเปลือกมาทำขนม ไม่ว่าจะเป็นคุกกี้ เค้ก หรือแยม

           ส้มเขียวหวาน มีเนื้อหวานฉ่ำ เหมาะสำหรับกินสดๆ หรือคั้นดื่ม เพราะเปลือกบางทำให้คั้นได้ง่าย

           ส้มจุก มีรสชาติและสีใกล้เคียงกับส้มเช้ง คือ หวานอ่อนๆ จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือคนที่ต้องการลดน้ำหนักค่ะ

           ส้มโอ เป็นส้มที่สามารถนำมาทำอาหารได้ทั้งคาว เช่น ยำส้มโอ ใส่ในข้าวยำน้ำบูดู ใส่ในสลัด หรือทำอาหารหวาน เช่น ส้มโอลอยแก้ว ส่วนเปลือกของส้มโอที่มีสีขาวนุ่ม รสชาติขมๆ อยู่ติดกับเปลือก ยังสามารถนำมาเชื่อมได้อีกค่ะ

           ส้มจี๊ด คนไทยส่วนใหญ่ไม่นิยมกินเพราะเปรี้ยวมาก แต่คนจีนนิยมกินโดยเฉพาะนำมาคั้นทำน้ำส้ม หรือนำมาอบแห้งค่ะ

           ส้มจีน เป็นส้มที่กินสด หรือนิยมนำมาไหว้เจ้าหรือไหว้บรรพบุรุษ เพราะคำว่าส้มในภาษาจีนจะฟังเหมือนคำว่าทอง และสีก็เหมือนทองด้วย จึงถือเป็นผลไม้มงคลสำหรับชาวจีนค่ะ

           เลมอน เป็นส้มที่มีรสชาติคล้ายมะนาว แต่จะมีรสหวานนิดๆ ส่วนใหญ่เป็นส้มที่ชาวต่างชาตินิยมนำมาทำอาหารแทนมะนาว เพราะไม่มีมะนาว หรือนำมาทำเป็นเครื่องดื่มในฤดูร้อน เพราะต่างประเทศไม่มีมะนาวนั่นเองค่ะ

           มะนาว เป็นหนึ่งในตระกูลส้มที่ให้ความเปรี้ยวมากที่สุด จึงนำมาปรุงอาหารได้สารพัด เช่น ต้มยำ ยำต่างๆ น้ำพริก รวมทั้งเป็นส่วนผสมในน้ำสลัด ฯลฯ

           มะกรูด เป็นหนึ่งในตระกูลส้มชนิดเดียวที่ไม่ได้นำน้ำหรือความเปรี้ยวมาปรุงอาหาร เพราะคนส่วนใหญ่จะนำกลิ่นหอมจากเปลือกมะกรูดมาใช้มากกว่า เช่น ใส่ในแกงมัสมั่น แกงเทโพ หรือทำหน้าหมี่กรอบ ส่วนน้ำมะกรูดนำมาทำเป็นยาสระผมค่ะ


 ส้ม...กินอย่างไรให้เหมาะ

          ส้มไม่ได้มีประโยชน์สำหรับผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียวนะคะ เพราะส้มยังมีประโยชน์กับเจ้าตัวเล็กของคุณอีกด้วย

          สำหรับพ่อแม่ที่อยากให้เจ้าตัวเล็กดื่มน้ำส้มคั้น ขอบอกไว้ก่อนนะคะว่าต้องให้หลัง 6 เดือน เพราะเป็นช่วงที่สามารถให้อาหารเสริมกับเจ้าตัวเล็กได้แล้ว ที่สำคัญการให้น้ำส้มกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นวัยใดก็ตามควรผสมน้ำในปริมาณครึ่งต่อครึ่ง เนื่องจากส้มจะมีรสชาติเข้มข้นการให้น้ำส้มลูกโดยไม่ผสมอะไรเลย อาจทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบดูดซึมของลูกได้ค่ะ

          พอลูกโตขึ้นจึงค่อยๆ ลดปริมาณน้ำลง จนถึงอายุ 5 ขวบ แล้วค่อยให้น้ำส้มอย่างเดียว เนื่องจากน้ำส้มมีรสหวานมาก การผสมน้ำจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เจ้าตัวเล็กไม่ติดหวานตั้งแต่ตัวน้อยๆ ค่ะ

          สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตและเบาหวาน ถ้าคิดจะกินส้ม ขอบอกไว้ก่อนนะคะ ว่าควรกินด้วยความระมัดระวัง เพราะส้มเป็นผลไม้ที่ให้โปแตสเซียมและน้ำตาลสูง จึงควรกินเป็นผลเพราะจะมีกากใยดีกว่าเป็นน้ำส้มคั้น เพราะน้ำส้มคั้น 1 แก้วต้องใช้ส้มหลายผล

 ส้ม...การเลือกซื้อ

          การเลือกซื้อส้มที่มีรสหวาน รสชาติอร่อยนั้น ควรเลือกที่มีผิวเรียบเนียน เปลือกบาง เช่นเดียวกับมะนาวที่ผิวเรียบเนียน เปลือกบางก็จะให้น้ำเยอะ ถ้าเป็นส้มเขียวหวานก็จะหวานมาก ยกเว้นมะกรูดค่ะ เพราะธรรมชาติของมะกรูดผิวจะขรุขระไม่เสมอกันอยู่แล้ว

สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง

สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง


ท้อ



ชื่ออื่น : หุงหม่น, หุงคอบ (เชียงใหม่), มักม่วน, มักม่น (ภาคเหนือ)
ชื่อสามัญ : Nectarine, peach
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus persica Batsch.
วงศ์ : ROSACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น : เป็นพรรณไม้ผลัดใบ มีขนาดสูงประมาณ 8 เมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งอ่อนจะมีผิว
เปลือกเกลี้ยงไม่มีขน เป็นสีน้ำตาลแดง หรือสีเขียวอ่อน

ใบ : มีลักษณะเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมเรียว ริมขอบใบจักตื้นเล็กน้อย ขนาดของใบกว้างประมาณ 1-1.2 นิ้ว ยาวประมาณ 3-6 นิ้ว และความยาวของก้านใบประมาณ 7-12 มม.

ดอก : ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวตามบริเวณกิ่ง ลักษณะของดอกมีกลีบเป็นสีชมพูอ่อน ดอกหนึ่ง มี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปมนรีที่โคนดอกมีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกออกเป็น 5 แฉก มีสีแดง ผิวนอกกลีบมีขน ตรงกลางดอกมีเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมีย เป็นเส้นฝอยจำนวนมาก ขนาดของดอกเมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 นิ้ว

ผล : ผลมีลักษณะเป็นรูปมนรี ปลายแหลม เปลือกนอกของผลมีสีเขียวออกเหลือง ๆ และมีขนสั้น ๆ นิ่มปกคลุม ภายในผลมีเมล็ด อยู่ 1 เม็ด มีลักษณะเป็นรูปมนรี คล้าย ๆ กับรูปหัวใจ เปลือกเมล็ดแข็ง มีร่องลึก

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นได้ดีในบริเวณที่ที่มีอากาศเย็นชื้น มีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบ ดอก ก้านอ่อน ผลสุก เมล็ด เปลือกราก ราก และยางจากลำต้น

สรรพคุณทางสมุนไพร

      1. ราก เปลือกรากหรือต้น ใช้สดประมาณ 30-60 กรัม แล้วนำไปต้มกิน หรือใช้สำหรับภายนอก โดยต้มเอาน้ำชะล้าง ราก เปลือกรากหรือต้นนั้น จะมีรสขม ใช้รักษาโรคดีซ่านและตาเหลือง โดยใช้รากหั่นเป็นฝอย ต้มกินตอนอุ่น ๆ ขณะที่ท้องว่าง ใช้รักษาเยื่อหุ้มกระดูกอักเสบ ใช้รากอ่อนสีขาว ผสมน้ำตาลแดงพอประมาณ แล้วตำพอกตามบริเวณที่เจ็บ นอกจากนี้ยังเป็นยารักษาประจำเดือนไม่ปรกติ ปวดข้อแผลบวม อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด เป็นแผลมีหนองเรื้อรัง และโรคริดสีดวงทวาร

        2. ใบ ใช้สดประมาณ 30-60 กรัม นำไปต้มน้ำกินหรือใช้สำหรับภายนอก โดยการตำพอก และต้มเอาน้ำชะล้างใบนั้นจะมีรสขม ใช้รักษาอาการปวดหัวจากลมร้อน ใช้ใบตำพอก เป็นในรูจมูก ให้ใช้ใบอ่อนตำ แล้วอุดรูจมูกที่เป็น บริเวณตาบวม ใช้ใบคั้นเอาแต่น้ำทา ตามบริเวณที่บวมเป็นกลากตามบริเวณหน้าและตัว ให้ใช้ใบคั้นเอาแต่น้ำทา รักษาโรคริดสีดวงทวาร ใช้ใบต้มเอาน้ำชะล้างบ่อย ๆ หรือจะใช้รากก็ได้ รักษาโรคอหิวาตกโรค ปวดท้อง อาเจียนให้ใช้ใบหั่นเป็นฝอย นำไปต้มกินตอนอุ่น ๆ เป็นปัสสาวะขัดหรือท้องผูก ให้ใช้ใบคั้นเอาน้ำกิน ครั้งละครึ่งชาม และยังใช้รักษาอาการไข้ โรคมาลาเรีย โรคผิวหนังเรื้อรังมีหนอง เป็นผื่นคันน้ำเหลือง และฆ่าหนอนแมลงที่แผล ใบมีสารจำพวก glycoside ที่มีสูตรโครงสร้างเป็น C22H24O11, naringenin, guinic acid, lycopene มีแทนนินประมาณ 100 มก.% และกลัยโคซัยด์เล็กน้อย

      3. ดอก ใช้แห้งประมาณ 3-6 กรัม นำไปต้มน้ำกินหรือใช้บดเป็นผงผสมกิน ใช้สำหรับภายนอก โดยการตำพอก หรือบดให้ละเอียดเป็นผงทา ดอกนั้นจะมีรสขม ใช้รักษาอาการท้องผูก ให้ใช้ดอกต้มน้ำกินบ่อย ๆ แทนน้ำชาได้ บรรเทาอาการปวดเอวและสะโพก ใช้ดอก รากเข็ก และข้าวสาร ต้มรวมกันให้สุก เอากากออก แล้วกินวันละ 3 เวลา โรคกระเพาะปัสสาวะ ขาบวมน้ำ ปวดเอว และไตมีน้ำคั่ง ใช้ดอกตากให้แห้ง ในที่ร่ม แล้วนำไปบดเป็นผงผสมกับเหล้าอุ่นกินครั้งเดียวหมด เป็นแผลหัวล้าน ใช้ดอกที่ตูมตากให้แห้งในที่ร่ม กับผลหม่อน บดเป็นผงใส่ไขมันหมูแล้วผสมให้เข้ากัน ใช้น้ำขี้เถ้าชะล้างตามบริเวณที่เป็นก่อน แล้วจึงเอายาที่เตรียมไว้ ใช้ทาบริเวณที่เป็น รักษาอาการปวดแน่นหน้าอก ตามบริเวณหัวใจ ให้ใช้ดอกที่แห้งแล้วบดเป็นผงกิน เป็นแผลผื่นคันที่ขา ให้ใช้ดอกผสมกับเกลือ แล้วบดเป็นผงผสมกับน้ำส้มสายชูพอก เป็นโรคพรรดึก ที่มีก้อนอุจจาระแห้งอุดลำไส้อยู่ หรือถ่ายไม่ออก ให้ใช้ดอกสดประมาณ 30 และลูกต๋าวประมาณ 90 กรัม นำไปต้มให้สุก แล้วกินตอนท้องว่าง 2 เวลา เช้าและหลังเที่ยง ท้องลั่นโครกครากแล้วถ่ายของเสียออกมา ในดอกนั้นจะมีสารkaempferol, coumarin, trifolin ส่วนดอกตูมจะมี naringenin

        4. ก้านอ่อน ใช้สดประมาณ 30-60 กรัม นำไปต้มน้ำกิน ใช้สำหรับภายนอก โดยการต้มเอาน้ำอมบ้วนปาก หรือชะล้าง ก้านอ่อนนั้นจะมีรสขม ใช้รักษาอาการปวดตามบริเวณหน้าอก และหัวใจ ใช้ก้านหั่นแล้วแช่กับเหล้า แล้วต้มให้เหลือครึ่งชามแล้วตุ๋นกิน ใช้รักษาแผลในช่องปาก ให้ใช้ก้านสดเคี้ยวอมไว้ แล้วจึงบ้วนทิ้ง

       5. ผลสุก ใช้กิน เป็นผลไม้ จะมีรสเปรี้ยว ชุ่ม ช่วยกระตุ้นน้ำลาย ขับสิ่งคั่งค้าง และช่วยหล่อลื่นในลำไส้ ในผลสุกประมาณ 100 กรัมนั้น จะมีสารพวก คาร์โบไฮเดรต ประมาณ 7 กรัม โปรตีนประมาณ 0.8 กรัม ไขมันประมาณ 0.1 กรัม แคลเซียมประมาณ 8 มก. เหล็กประมาณ 1 มก. ฟอสฟอรัสประมาณ 20 มก. วิตามินประมาณ 6 มก. กรดนิโคตินิคประมาณ 0.7 มก. แคโรทีนราว ๆ 0.01 มก. และไทยอามีนประมาณ 0.01 มก. นอกจากสารนี้แล้วยังพบว่ามีน้ำมันระเหย กรดอินทรีย์ ที่มีตัวหลักคือ กรดซิตริค และกรดมาลิค ส่วนในพวกน้ำตาลนั้นได้แก่ fructose, glucose, xylose, sucrose เป็นต้น

        6. เมล็ด ใช้แห้งประมาณ 5-10 กรัมหรือจะทำเป็นยาเม็ดหรือยาผงกินก็ได้ ใช้สำหรับภายนอกโดยการตำพอกเมล็ดนั้นจะมีรสขมและชุ่ม ใช้เป็นยารักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปรกติหลังคลอด ใช้เมล็ด เอาเปลือกและส่วนที่แหลมออก และรากบัว นำไปต้มน้ำกินเป็นยาขับน้ำคาวปลาหลังคลอด ใช้เมล็ดประมาณ 10 กรัม โกฐเชียงประมาณ 10 กรัม เซียะเจียก เปลือกอบเชยจีน อย่างละประมาณ 1.5 กรัม และน้ำตาลประมาณ 10 กรัม นำไปคั่วให้เป็นถาน แล้วต้มเอากากออก อุ่นเอาแต่น้ำกิน สำหรับผู้หญิงที่มีประจำเดือนไม่ปรกติ ไม่ใช่เกี่ยวกับโลหิตจาง ให้ใช้เมล็ดร่วมกัน ดอกคำฝอย โกฐเชียง รากพันงู ชนิดละเท่า ๆ กัน นำไปบดเป็นผงให้ละเอียดกิน หรือจะใช้ผสมกับเหล้าอุ่นกินขณะที่ท้องกำลังว่าง มีอาการตกเลือด ให้ใช้เมล็ด แกะเอาเปลือกและส่วนที่เหลือออก

         นำไปต้มแล้วใช้เซียะเจียก เปลือกอบเชยจีน โป่งรากสน และเปลือกต้นโบตั๋นชนิดละเท่า ๆ กัน นำไปบดเป็นผงนำมาผสมกับน้ำผึ้ง แล้วทำเป็นยาเม็ดเท่าปลายนิ้วก้อย กินครั้งละ 3 เม็ด รักษาไข้มาลาเรีย ให้ใช้เมล็ดประมาณ 100 เม็ด ให้เอาเปลือกและส่วนที่แหลมออก ใส่นมแล้วบดให้เป็นของเหลวข้นใส่อึ่งตัง มี (Pb3o4 34.9%) 9 กรัม แล้วปั้นเป็นเม็ดเท่าถั่วเขียวกินครั้งละประมาณ 3 เม็ด ก่อนจับไข้ หรือเริ่มจับไข้กับเหล้าอุ่น ถ้าไม่กินเหล้าก็ให้กินกับน้ำแช่ดอกไม้แทนได้


        บรรเทาอาการปวดฟัน ให้ใช้เมล็ดนำไปเผา แล้วเอาไปกัดไว้ที่ฟันซี่ที่ปวด เป็นลมพิษ บวม ชัก หรือปวดท้อง ปวดเอว ให้ใช้เมล็ด คั่วจนมีควันสีดำ แล้วเอาไปบดจนเป็นของเหลวข้น ผสมเหล้ากิน แล้วนอนห่มผ้าให้มีเหงื่อออก ท้องผูก ใช้เมล็ด รากโงวจูยู้ เกลือแกง คั่วให้สุก แล้วแยกเอาเกลือกับโงวจูยู้ออก เอาเมล็ดท้อกินก่อนอน ตกเลือด และตกขาว ใช้เมล็ดเผาเป็นถ่าน แล้วบดให้เป็นผง แล้วใช้กินกับเหล้าวันละ 3 เวลา มีอาการไอและหอบ ใช้เมล็ดใส่น้ำ แล้วบดเอาแต่น้ำ ใส่ข้าวสารแล้วต้มเป็นข้าวต้มกิน เป็นแผลที่ช่องคลอด เจ็บคันคล้ายกับถูกแมลงกัด หรือมีอาการคันแทบจะทนไม่ได้ ใช้เมล็ดและใบในปริมาณเท่ากัน นำไปตำให้ละเอียด ใช้สำลีชุบสอดไว้แล้วเปลี่ยนวันละประมาณ 3-4 ครั้ง นอกจานี้ในเมล็ดยังมีสาร amygdalin ประมาณ 3.6% น้ำมันระเหยประมาร 0.4% และไขมันประมาณ 45% ในไขมันนั้นยังประกอบด้วย glyceride folinic aci, oleic acid และ glyceride ที่มี folinic acid จำนวนน้อย และยังมี emulsin เป็นต้น


        7. ยางจากต้น ใช้แห้งประมาณ 5-10 กรัม นำไปต้มกินหรือทำเป็นยาเม็ด หรือยาผงกิน ยางจากต้นนั้นจะมีรสขมชุ่มเป็นยารักษานิ่ว ปวดเจ็บ ใช้ยางจากต้น ในฤดูร้อนใช้กินกับน้ำเย็นฤดูหนาวกินกับน้ำแกงจืดวันละ 3 เวลา จนมีก้อนนิ่วหลุดออกมาจึงหยุดยา เป็นโรคบิดถ่ายเป็นมูกเลือดหลังคลอด ใช้ยางจากต้น นำไปผิงไฟให้แห้ง ไม้กฤษณา เกสรตัวผู้ดอกกกช้าง นำไปคั่วให้แห้ง ชนิดละเท่า ๆ กัน บดเป็นผง กินครั้งละ 6 กรัม หลังอาหาร โรคเบาหวาน ใช้ยางจากต้น โดยใช้น้ำอุ่นล้างให้สะอาด ต้มใส่เกลือเล็กน้อยกิน เป็นจุดด่างดำบนผิวหนัง ใช้ยางจากต้นต้มกิน คอแห้ง ใช้ยางจากต้น อมไว้ ยางจากต้นยังมีส่วนประกอบหลักคือ มีสาร galactose, rhamnose, glucuronic acid เป็นต้นข้อห้ามใช้ : 1. สารพิษพวกไซยาไนด์ จะมีอยู่ในใบ ดอก ผลดิบและเมล็ด ห้ามกินสดฉะนั้นก่อนที่ จะนำมากินต้องนำไปต้ม หรือดองก่อน จึงจะใช้กินได้