Popular Posts

Monday 11 March 2013

สมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาโรคไตบำรุงไต


สมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาโรคไตบำรุงไต
โรคไต  คือความผิดปกติทางพยาธิสภาพ ของไต ในการทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายคนเรา โรคไตมีหลายประเภทดังนี้
โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่างๆ
โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเก๊าท์
โรคไตอักเสบเนโฟรติก
โรคไตอักเสบจากภาวะภูมิคุ้มกันสับสน (โรค เอส.แอล.อี.)
โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคถุงน้ำที่ไต (Polycystic Kidney Disease)
ไตทำหน้าที่อะไร     1. กำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกายและน้ำส่วนเกินทิ้ง ซึ่งทำให้เลือดสะอาด 2. ดูดซึม  และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
3. รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย
4. รักษาระดับเกลือแร่ในเลือดให้ปกติ
5. รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย
6. สร้างฮอร์โมนหลายชนิด เช่น สารควบคุมความดันโลหิต,สารสร้างเม็ดเลือดแดง,สารทำให้ไม่เกิดภาวะ
โลหิตจางและสร้างสารเสริมกระดูก ช่วยทำให้ระดับฟอสฟอรัสและแคลเซียมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในเด็ก
จะช่วยให้เจริญเติบโตได้ ตามวัย
สาเหตุของโรคไตเป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียว หรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไตเป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็น กรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อ โรค) เป็นต้น
เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโต มะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด
โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไต     1. อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ไตย่อมเสื่อมตามธรรมชาติ เพระคนเรา อายุ 30 ปี ขึ้นไป ไตจะเสื่อมตาม
ธรรมชาติ ร้อยละ 1 ต่อปี   2. ความดันโลหิตสูง
3. โรคหัวใจ  เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ
4. โรคหลอดเลือดสมอง
5. โรคเบาหวาน
6. โรคเก๊าท์
7. โรคไตอักเสบชนิดต่าง ๆ เช่น   โรคไตอักเสบตั้งแต่วัยเด็ก   ไตอักเสบ เอส-แอล –อี   โรคไตเป็นถุงน้ำ
นิ่ว  เนื้องอก  หลอดเลือดฝอยอักเสบ  8. มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคไต
9. โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบจากการติดเชื้อ
10.ใช้ยาแก้ปวด   หรือสัมผัสสารเคมีบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน
อาการแสดงเมื่อเป็นโรคไต     1. หนังตา ใบหน้า เท้า ขา และลำตัวบวม  2. ปัสสาวะผิดปกติ เช่น   ขุ่น  เป็นฟอง  เป็นเลือด  สีชาแก่  คล้ายสีน้ำล้างเนื้อ
3. การถ่ายปัสสาวะผิดปกติ เช่น   ปัสสาวะบ่อย  แสบ ขัด  ปริมาณน้อย
4. ปวดหลัง  คลำได้ก้อน บริเวณไต
5. ความดันโลหิตสูง
6. ซีด อ่อนเพลีย  เหนื่อยง่าย  ไม่มีแรง  ไม่กระฉับกระเฉง
7. ท้องอืด   ท้องเฟ้อ   คลื่นไส้   อาเจียน
8. เบื่ออาหาร   การรับรสอาหารเปลี่ยนไป
9. ปวดศีรษะ   นอนหลับไม่สนิท
อาการของไตเสื่อม 2 ประเภท
ปกติเมื่อคนเรา อายุ 30 ปี ขึ้นไป ไตจะเสื่อมตามธรรมชาติ ร้อยละ 1 ต่อปี สมารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
เสื่อมอย่างรวดเร็วหรือไตหยุดการทำงานทันที เรียกว่า โรคไตวายเฉียบพลัน ซึ่งอาจจะกลับเป็นปกติได้ ถ้าได้การรักษาที่เหมาะสม
สื่อมลงอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง จะทำให้ไตเกิดความผิดปกติอย่างถาวร  เรียกว่า โรคไตวายเรื้อรัง
เมื่อไตเสื่อม อาการของโรคไตแบ่งออกเป็น  5 ระยะ   ระยะที่1 จะสามารถตรวจพบความผิดปกติของไต เช่น ปัสสาวะมีตะกอนผิดปกติ แต่ไตก็ยังคงทำงานได้ปรกติในระยะนี้ การดูแลรักษา  ต้องงดสูบบุหรี่ รักษาโรคที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไต อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ,โรคเอสแอลอี (ภูมิคุ้มกันผิดปกติ) ,โรคเก๊าท์ ,นิ่วในไต ,ไตอักเสบ, การติดเชื้อปัสสาวะซ้ำ ๆ
ระยะที่ 2 ไตเริ่มทำงานลดลง 3 ใน 4 ส่วน หรือ 60-90% การดูแลรักษา ลดปริมาณอาหารที่มีรสเค็ม
ระยะที่ 3 ไตเริ่มทำงานลดลง 1 ใน 2 ส่วน หรือ 30-60% การดูแลรักษา  ลดอาหารจำพวกโปรตีน
ระยะที่ 4 ไตเริ่มทำงานลดลง 1 ใน 4 ส่วน หรือ 15-30% การดูแลรักษาจำกัดการบริโภคผลไม้ต่างๆ
ระยะที่ 5 เป็น “ระยะไตวาย” ซึ่งในระยะนี้ไตจะทำงานได้น้อยกว่า 15%
อาการของโรคไตวาย ชนิดเฉียบพลัน      ไตเสื่อมอย่างรวดเร็ว   ภายในเวลาเป็นวัน  หรือสัปดาห์     มักมีอาการมากกว่าแบบวายเรื้อรัง    อัตราการเสียชีวิตสูง   ถ้าพ้นอันตราย  ไตมักจะเป็นปกติได้
อาการของโรคไตวาย ชนิดเรื่อรัง      เนื้อไตถูกทำลายอย่างถาวร   ทำให้ไตค่อย ๆ ฝ่อเล็กลง     แม้อาการจะสงบ  แต่ไตจะค่อย ๆ เสื่อม     และเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด
ปัจจุบันพบว่าสาตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยด้วยโรคไต เข้าสู่โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย  มีสาเหตุจาก
อันดับหนึ่ง   โรคเบาหวาน
อันดับสอง   ความดันโลหิตสูง  และ โรคหลอดเลือดฝอยไตอักเสบ  เช่น  โรค เอส- แอล – อี
สาเหตุอื่น ๆ  ได้แก่ โรคนิ่วในไต,อักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อ,โรคเก๊าส์,การกินยาแก้ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ ,โรคถุงน้ำในไตที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์

No comments:

Post a Comment